วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

7.     เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
            1.       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมมาช่วยสอน โปรแกมรช่วยสอนมีลักษณะการทำงานในรูปแบบสื่อประสม(Multimedia) คือใช้สื่อร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น ภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ มีการประเมินผลเพื่อสนองตอบให้กับผู้เรียนอย่างรวดเร็ว ด้วยลักษณะพิเศษของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี่เองจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการศึกษา
            2.       การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต
            อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปหมายถึงกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สามารถแลกเปลียนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ดิสก์ เทป เครื่องพิมพ์ ฯลฯ รวมกันได้
            อินเทอร์เน็ตสามารถเป็นช่องทางกระจายสื่อการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้สื่อการเรียนรู้ไปถึงผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้เรื่องราวได้จากสื่อด้วยตนเองหรือเรียนเป็นกลุ่ม ส่วนประกอบของการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องประกอบด้วยสิ่งดังต่อไปนี้
            2.1       การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
            เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์          (e-mail) จะมีบบบาทสำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ e-mail สามารถติดต่อกันได้โดยตรงระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในทันทีและผู้เรียนเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้สอนสามารถส่งข้อความ ภาพ ตลอดจนเสียงผ่านทาง e-mail ได้พร้อมๆ กัน ผู้สอนสามารถส่งแบบสอบถาม เพื่อที่จะทราบถึงความแต่กต่างๆ ระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้โดยตรงในขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็สามารถปรึกษากับผู้สอนได้เป็นการส่วนตัว ผู้สอนก็สามารถที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและแก้ปัญหได้อย่างรวดเร็ว
            2.2       การเรียนจากเว็ปไซต์
            การเรียนลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานมากกว่าการเรียนแบบบรรยาย เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้เหมาะสมตามประเด็นเนื้อหา ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดจากการจดคำบรรยายขณะที่เรียน อีกทั้งในเว็ปไซต์สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ความรู้ใหม่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายอีกทั้งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้แบบทันทีทันใด เช่น การทำแบบทดสอบผ่านเว็ปไซต์
            2.3       การสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็ปไซต์
            เป็นวิธีที่เรารู้จักกันมากที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความรู้อย่างมากมายอยู่ในเว็ปไซต์ต่างๆ แต่การที่จะได้ความรู้เพียงใดและมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเว็ปไซต์ที่เราเข้าไปศึกษาหาความรู้ว่ามีวิธีการนำเสนอเนื้อหาความรู้อย่างไรและตรงกับความต้องการของเราเพียงใด
            2.4       แลกเปลียนความรู้ทางเว็ปบอร์ด
            เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแลกเปลียนความรู้กับบุคคลต่างๆ โดยเสนอความคิดเห็นของเราให้ผู้อื่นรู้และรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น
2.5       พูดคุยกับบุคลลทั่วโลกผ่านทาง Internet
โดยใช้หลายๆ วิธีการ เช่น Internet Phone,ICQ,msn messenger,yahoo messenger หรืออีกมากมาย ซึ่งสามารถติดต่อกับบุคคลทั่วไปได้ทั้งพิมพ์โต้ตอบ พูดคุยหรือพูดคุยและเห็นหน้ากันด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นช่องทางที่สามารถจะใช้ Internet เป็นช่องทางในการแสวงหาความรู้ซึ่งนับวันจะมีการพัฒนามากขึ้น ผู้สร้างความรู้และวิธีการใช้ Internet เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้ที่ใช้ Internet เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้


           

3.       มัลติมีเดีย
            มัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะการผสมของสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอโดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
            มัลติมีเดียจึงต้องการช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างสูงรองรับการทำงานแบบสองทิศทางโดยเน้นการย่อระยะทางจากที่ไกลๆ ให้เหมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
4.       อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค (E-Book)
            หมายถึงหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้  สำหรับหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงออกมาได้โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอสอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวันตี่จะมีลักษณะพิเศษคือ ความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านก็สามารถอ่านพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนให้ห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป
            ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุ๊คมาใช้ทางการศึกษา มักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือหรือตำราหรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตัวเอง ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์และเมื้อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่
          5.       ระบบการเรียนการสอนทางไกล
          ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) หมายถึงการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนและผู้สอนอยู่คนละสถานที่ โดยมีการใช้สื่อทางโทรคมนาคมเป็นตัวประสานการติดต่อระหว่างผู้สอน ผู้สอนกับนักเรียน การนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทางไกลนี้ จะอยู่ในรูปแบบของการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหว และสัญญาณเสียงของผู้สอนจะถูกส่งจากสถานที่สอนซึ่งก็คือ ศูนย์ฝึกอบรมหลัก (Training Center)ผ่านสื่อโทรคมนาคม  เช่น ดาวเทียมคู่สายวงจรเช่า หรือ ISDN
ไปให้ผู้เรียนในห้องเรียนทางไกล (Remote Sites)หลายๆ แห่งได้รับชมรับฟัง ขณะเดียวกันผู้เรียนที่ห้องอบรมทางไกลก็จะสามารถพูดโต้ตอบกลับมายังผู้สอนที่ศูนย์ฝึกอบรมหลัก รวมทังสามารถตอบข้อทดสอบในสาขาวิชาการนั้นๆ ได้ทันทีซึ่งลักษณะเช่นนี้ทำให้มีความรู้สึกเหมื่อนเป็นการเรียนการสอนอยู่ในสถ่นที่เดียวกัน
            6.       วีดีโอคอนเปอร์เรนซ์ (Video Conference)
                ระบบวีดีโอคอนเปอร์เรนซ์ เป็นการสอนผ่านจอโทรทัศน์คล้ายคลึงกับการสอนทางไกลผ่านสื่อโทรทัศน์โดยทั่วไป แต่มีข้อแตกต่างที่ระบบวีดีโอคอนเปอร์เรนซ์แบบสองทาง ผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยสื่อเดียวกันตลอดเวลา และมักใช้กับการเรียนการสอนแบบเป็นกลุ่ม นอกจากมีการปฏิสัมพันธ์แล้วคุณภาพของการเรียนการสอนจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพ การสอนของผู้สอน ตัวผู้สอนเน้นการบรรยายด้วยปากเป็นหลักสิ่งที่ผู้เรียนได้รับจึงมีความเป็นนามธรรมสูง ผลที่เกิดขึ้นจึงขึ้งอยู่กับเทคนิคของผู้สอน
            7.       ระบบวีดีทัศน์ตามคำขอ(Video on Demand)
            วีดีทัศน์ตามคำขอเป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ และเลือกชมได้ตลอดเวลา
            วีดีทัศน์ตามคำขอเป็นระบบที่มีศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลวีดีทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่(Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวีดีทัศน์ตามคำขอจึงเป็นระบบที่จะนำมาใชในเรื่องการเรียน การสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น