วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

10.    รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
กิดานันท์  มลิทอง  หนังสือเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา  (2548:202)
            บทเรียนซีเอไอ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (computer-assisted instruction) หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า บทเรียนซีเอไอ เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหาสือประสมและอาจมีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงไปยังหัวข้อย่อยเพื่อสะดวกในการเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากเนื้อหาซึ่งมีทั้งข้อความ ภาพและเสียง มีการตอบสนองต่อบทเรียนโดยการทำแบบทดสอบ และได้รับผลป้อนกลับทันทีทำให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้ บทเรียนซีเอไอจะบรรจุลงแผ่นซีดีเพื่อสะดวกในการใช้เรียนทั้งในห้องเรียนหรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองที่บ้านตามความสะดวกของแต่ละคน
            การเรียนอิเล็กทรอนิกส์
          การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (electronic-learning :e-learning)หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า อีเลิร์นนิง เป็นการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้การสื่อสารทางไกลด้วยสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม มีการใช้เทคโนโลยีเว็บในการนำเสนอบทเรียนออลไลน์และมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองทั้งแบบประสายเวลาและไม่ประสานเวลาผ่านทางการสนทนา อีเมล เว็บบอร์ด และการประชุมทางไกล
            วิธีการหนึ่งที่ใช้มากในอิเลิร์นนิง คือ การสอนบนเว็บโดยผู้สอนจะใส่เนื้อหาบทเรียนไว้ในเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนได้ในเวลาที่ต้องการ เนื้อหาบทเรียนเหล่านี้จะเป็นลักษณะสื่อหลายมิติโดยมีการเชื่อมโยงเนื้อหาทั้งในเว็บไซต์เดียวกันและเว็บไซต์ภานนอกที่เกี่ยงข้องทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีเลิร์นนิงสามารถใช้ได้ทั้งการเรียนในห้องเรียนในลักษณะใช้เว็บเสริมและวิชาเอกเทศในการศึกษาทางไกลที่ผู้เรียนรียนจากบทเรียนด้วยตนเอง นอกจากใช้ในการศึกษาตามหลักสูตรแล้วยังสามารถใช้อีเลิร์นนิงในการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานใหม่ในหน่วยงานต่างๆได้ด้วยในลักษณะการอบรมบนเว็บ(web-based training)
           
การศึกษาทางไกล
            การศึกษาทางไกล(distance education)เป็นระบบการศึกษาที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถมีการเรียนการสอนได้ด้วยการใช้สื่อประเภทต่างๆ ทั้งสื่อพื้นฐานและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีการใช้การสอนบนเว็บบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงทำให้สามารถส่งการสอนจากที่หนึ่งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านหรือสถานที่แห่งใดๆก็ได้ในโลกนี้ เพื่อการเรียนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง การเรียนการสอนจะใช้การสอนบนเว็บเป็นหลักโดยใส่เนื้อหาบทเรียนบนเว็บไซต์ตามคุณสมบัติและลักษณะของสื่อหลายมิติเช่นเดียวกับอีเลิร์นนิงที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(electronic-book) เป็นสื่อประเภทหนึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม ฯลฯ โดยการเปลียนเนื้อหาที่พิมพ์ด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรมประมวลคำให้เป็นรูปแบบ.pdf (portable document file)เพื่อสะดวกในการอ่านด้วยโปรแกรมสำหรับอ่านหรือส่งผ่านบนอินเทอร์เน็ต ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีรูปแบบธรรมดาคือ มีข้อความและภาพเหมือนหนังสือทั่วไปและแบบสื่อหลายมิติโดยการเชื่อมโยงไปยังข้อความในหน้าอื่นหรือเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตก็ได้ ทำให้สะดวกในการใช้งานเพราะมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อสไหวแบบแอนิเมชันและแบบวีดีทัศน์ และเสียงประเภทต่างๆ รวมถึงเสียงจากการอ่านข้อความในเนื้อหาด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้กันจะมีหลายประเภท เช่น หนังสือตำราเรียน หนังสือความรู้ต่างๆ นวนิยาย สารานุกรม ฯลฯ รวมถึงหนังสือที่เรียกว่า “talking book” ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทานสำหรับเด็กเพื่ออ่านให้เด็กฟังและให้เด็กหัดอ่านตามเสียงพูดนั้นได้ เพื่อฝึกทักษะการฟังและการพูด และได้รับการบันเทิงจากภาพแอนิเมชันและภาพเคลื่อนไหวที่แลดูมีชีวิตชีวามากกว่าการอ่านหนังสือธรรมดา จึงนิยมใช้กับเด็กหัดอ่านและฟังเพื่อเสริมทัษะด้านภาษา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกลงแผ่นซีดีหรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตได้ และใช้อ่านบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ

            การใช้งานสำหรับผู้พิการ
            สื่อหลายมิติสามารถใช้สำหรับผู้พิการทางกายภาพและผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ผู้บกพร่องทางการมองเห็นสามารถใช้การฟังแทนการดูข้อความและภาพหรือของใช้แบบอักษรและภาพขนาดใหญ่สำหรับผู้ที่พอมองเห็นได้บ้าง สื่อทางทัศนะในรูปแบบของภาพกราฟิกทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชันและวีดีทัศน์รวมถึงซอฟต์แวร์การศึกษาที่มีคำบรรยายหรือภาษามือสามารถช่วยการเรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางโสตได้ นอกจากนี้ การใช้คำสั่งต่างๆ เพื่อการเชื่อมโยงอาจใช้ลักษณะของเสียงพูดหรือใชจอสัมพัสโดยไม่ต้องคลิกเมาส์เพื่อสะดวกในการเรียนของผู้พิการเหล่านี้
            ความเป็นจริงเสมือน
ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) เป็นเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ ความเป็นจริงเสมือนจะทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหรือเชื่อมโยงไปสู่ต่างๆได้เหมือนอยู่ในนั้นจริงๆการใช้ความเป็นจริงเสมือนจะมีทั้งแบบง่ายๆในลักษณะแบบผ่านจอภาพที่ใช้เพียงซอฟแวต์โปรแกรมในการสร้างเนื้อหาและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของพิพิภัณฑ์ที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรม virtual reality modeling language (VRML)จะทำให้ผู้ใช้เสมือนอยู่เดิมอยู่ในพิพิภัณฑ์และเข้าไปให้ในห้องต่างๆได้โดยคลิกจุดเชื่อมโยงหลายมิติและความเป็นจริงเสมือนแบบกึ่งรับสัมผัสเต็มรูปแบบที่ต้องใช้อุปกรณ์สวมใส่ ดังเช่นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ในการเรียนสามารถให้ผู้เรียนจัดเครืองตกแต่งภายในห้องได้เสมือนมีการหยิบจับเครืองเรืองเหล่านั้นจริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น