วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

10.    รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
กิดานันท์  มลิทอง  หนังสือเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา  (2548:202)
            บทเรียนซีเอไอ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (computer-assisted instruction) หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า บทเรียนซีเอไอ เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหาสือประสมและอาจมีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงไปยังหัวข้อย่อยเพื่อสะดวกในการเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากเนื้อหาซึ่งมีทั้งข้อความ ภาพและเสียง มีการตอบสนองต่อบทเรียนโดยการทำแบบทดสอบ และได้รับผลป้อนกลับทันทีทำให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้ บทเรียนซีเอไอจะบรรจุลงแผ่นซีดีเพื่อสะดวกในการใช้เรียนทั้งในห้องเรียนหรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองที่บ้านตามความสะดวกของแต่ละคน
            การเรียนอิเล็กทรอนิกส์
          การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (electronic-learning :e-learning)หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า อีเลิร์นนิง เป็นการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้การสื่อสารทางไกลด้วยสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม มีการใช้เทคโนโลยีเว็บในการนำเสนอบทเรียนออลไลน์และมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองทั้งแบบประสายเวลาและไม่ประสานเวลาผ่านทางการสนทนา อีเมล เว็บบอร์ด และการประชุมทางไกล
            วิธีการหนึ่งที่ใช้มากในอิเลิร์นนิง คือ การสอนบนเว็บโดยผู้สอนจะใส่เนื้อหาบทเรียนไว้ในเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนได้ในเวลาที่ต้องการ เนื้อหาบทเรียนเหล่านี้จะเป็นลักษณะสื่อหลายมิติโดยมีการเชื่อมโยงเนื้อหาทั้งในเว็บไซต์เดียวกันและเว็บไซต์ภานนอกที่เกี่ยงข้องทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีเลิร์นนิงสามารถใช้ได้ทั้งการเรียนในห้องเรียนในลักษณะใช้เว็บเสริมและวิชาเอกเทศในการศึกษาทางไกลที่ผู้เรียนรียนจากบทเรียนด้วยตนเอง นอกจากใช้ในการศึกษาตามหลักสูตรแล้วยังสามารถใช้อีเลิร์นนิงในการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานใหม่ในหน่วยงานต่างๆได้ด้วยในลักษณะการอบรมบนเว็บ(web-based training)
           
การศึกษาทางไกล
            การศึกษาทางไกล(distance education)เป็นระบบการศึกษาที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถมีการเรียนการสอนได้ด้วยการใช้สื่อประเภทต่างๆ ทั้งสื่อพื้นฐานและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีการใช้การสอนบนเว็บบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงทำให้สามารถส่งการสอนจากที่หนึ่งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านหรือสถานที่แห่งใดๆก็ได้ในโลกนี้ เพื่อการเรียนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง การเรียนการสอนจะใช้การสอนบนเว็บเป็นหลักโดยใส่เนื้อหาบทเรียนบนเว็บไซต์ตามคุณสมบัติและลักษณะของสื่อหลายมิติเช่นเดียวกับอีเลิร์นนิงที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(electronic-book) เป็นสื่อประเภทหนึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม ฯลฯ โดยการเปลียนเนื้อหาที่พิมพ์ด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรมประมวลคำให้เป็นรูปแบบ.pdf (portable document file)เพื่อสะดวกในการอ่านด้วยโปรแกรมสำหรับอ่านหรือส่งผ่านบนอินเทอร์เน็ต ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีรูปแบบธรรมดาคือ มีข้อความและภาพเหมือนหนังสือทั่วไปและแบบสื่อหลายมิติโดยการเชื่อมโยงไปยังข้อความในหน้าอื่นหรือเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตก็ได้ ทำให้สะดวกในการใช้งานเพราะมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อสไหวแบบแอนิเมชันและแบบวีดีทัศน์ และเสียงประเภทต่างๆ รวมถึงเสียงจากการอ่านข้อความในเนื้อหาด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้กันจะมีหลายประเภท เช่น หนังสือตำราเรียน หนังสือความรู้ต่างๆ นวนิยาย สารานุกรม ฯลฯ รวมถึงหนังสือที่เรียกว่า “talking book” ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทานสำหรับเด็กเพื่ออ่านให้เด็กฟังและให้เด็กหัดอ่านตามเสียงพูดนั้นได้ เพื่อฝึกทักษะการฟังและการพูด และได้รับการบันเทิงจากภาพแอนิเมชันและภาพเคลื่อนไหวที่แลดูมีชีวิตชีวามากกว่าการอ่านหนังสือธรรมดา จึงนิยมใช้กับเด็กหัดอ่านและฟังเพื่อเสริมทัษะด้านภาษา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกลงแผ่นซีดีหรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตได้ และใช้อ่านบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ

            การใช้งานสำหรับผู้พิการ
            สื่อหลายมิติสามารถใช้สำหรับผู้พิการทางกายภาพและผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ผู้บกพร่องทางการมองเห็นสามารถใช้การฟังแทนการดูข้อความและภาพหรือของใช้แบบอักษรและภาพขนาดใหญ่สำหรับผู้ที่พอมองเห็นได้บ้าง สื่อทางทัศนะในรูปแบบของภาพกราฟิกทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชันและวีดีทัศน์รวมถึงซอฟต์แวร์การศึกษาที่มีคำบรรยายหรือภาษามือสามารถช่วยการเรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางโสตได้ นอกจากนี้ การใช้คำสั่งต่างๆ เพื่อการเชื่อมโยงอาจใช้ลักษณะของเสียงพูดหรือใชจอสัมพัสโดยไม่ต้องคลิกเมาส์เพื่อสะดวกในการเรียนของผู้พิการเหล่านี้
            ความเป็นจริงเสมือน
ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) เป็นเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ ความเป็นจริงเสมือนจะทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหรือเชื่อมโยงไปสู่ต่างๆได้เหมือนอยู่ในนั้นจริงๆการใช้ความเป็นจริงเสมือนจะมีทั้งแบบง่ายๆในลักษณะแบบผ่านจอภาพที่ใช้เพียงซอฟแวต์โปรแกรมในการสร้างเนื้อหาและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของพิพิภัณฑ์ที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรม virtual reality modeling language (VRML)จะทำให้ผู้ใช้เสมือนอยู่เดิมอยู่ในพิพิภัณฑ์และเข้าไปให้ในห้องต่างๆได้โดยคลิกจุดเชื่อมโยงหลายมิติและความเป็นจริงเสมือนแบบกึ่งรับสัมผัสเต็มรูปแบบที่ต้องใช้อุปกรณ์สวมใส่ ดังเช่นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ในการเรียนสามารถให้ผู้เรียนจัดเครืองตกแต่งภายในห้องได้เสมือนมีการหยิบจับเครืองเรืองเหล่านั้นจริงๆ

9. สื่อประสม คืออะไร

9.     สื่อประสม  คืออะไร   
          ชัยยงศ  พรหมวงศ์ (2543:115)
ได้ให้ความหมาย สื่อประสม หมายถึง เป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กัน เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
            อิริคสัน (Erickson) (2548:14)
ได้ให้ความหมาย สื่อประสม หมายถึง  การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้รวมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
            หนังสือเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (2548:99)
ได้ให้ความหมาย สื่อประสม หมายถึง  การนำสื่อหลายประเภทมาใช้รวมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหา
            หนังสือเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (2548:100)
ได้ให้ความหมาย สื่อประสม หมายถึง  การนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบตัวอัขระ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ “multimedia” ในลักษณะสื่อประสมแบบใหม่จึงใช้อีกอย่างหนึ่งว่า “computer media”






สรุปได้ว่าสื่อประสม  คืออะไร
        สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อการสอนหลายชนิดรวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนมากขึ้น

8. สื่อการสอน คืออะไร

8.   สื่อการสอน  คืออะไร
            วิวรรชน์  จันทร์เทพย์  (2543:18)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  วัสดุอุกรณ์หร์อวิธีการใดๆที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อแต่ละชนิดจะมีคุณค่าและคุณสมบัติพิเศษในตัวเอง สามารถแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
            สมบูรณ์ สงวนญาติ (2543:42)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพได้แก่ วัสดุ สิ่งของที่มีอยู่นะรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมารวมทั้งวิธีสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
            สมพร จารุนัฏ (2548:2)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  สิ่งที่นำเสนอสิ่งเร้าที่นำมากระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
            รัฐกรณ์ คิดการ(2543:40)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  ตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ไปสู่ผู้เรียน ช่วยอธิบายขยายความให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
            มนตรี แย้มสิกร (2548:5)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  ตัวกลางที่ช่วยในการนำความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งเรียนรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมตามที่ต้องการ

            หนังสือเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา(2548:99)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือเป็นอุปกรณ์ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครืองมือสำหรับการสอนของผู้สอนไปถึงผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้อย่างดี
            หนังสือ เทคโนโลยีการศึกษาทฤษฏีและการวิจัย (2543:79)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  สิ่งต่างๆที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
            หนังสือ เทคโนโลยีการศึกษาทฤษฏีและการวิจัย (2543:91)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  สิ่งต่างๆสอนและผู้เรียนนำมาใชในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดหมายการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            หนังสือเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน (2543:43)
ได้ให้ความหมาย สื่อการสอน หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

           









สรุปได้ว่าสื่อการสอน  คืออะไร
            สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ตามจุดมุงหมายอย่างมีประสิทธิภาพ


7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

7.     เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
            1.       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมมาช่วยสอน โปรแกมรช่วยสอนมีลักษณะการทำงานในรูปแบบสื่อประสม(Multimedia) คือใช้สื่อร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น ภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ มีการประเมินผลเพื่อสนองตอบให้กับผู้เรียนอย่างรวดเร็ว ด้วยลักษณะพิเศษของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี่เองจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการศึกษา
            2.       การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต
            อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปหมายถึงกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สามารถแลกเปลียนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ดิสก์ เทป เครื่องพิมพ์ ฯลฯ รวมกันได้
            อินเทอร์เน็ตสามารถเป็นช่องทางกระจายสื่อการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้สื่อการเรียนรู้ไปถึงผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้เรื่องราวได้จากสื่อด้วยตนเองหรือเรียนเป็นกลุ่ม ส่วนประกอบของการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องประกอบด้วยสิ่งดังต่อไปนี้
            2.1       การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
            เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์          (e-mail) จะมีบบบาทสำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ e-mail สามารถติดต่อกันได้โดยตรงระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในทันทีและผู้เรียนเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้สอนสามารถส่งข้อความ ภาพ ตลอดจนเสียงผ่านทาง e-mail ได้พร้อมๆ กัน ผู้สอนสามารถส่งแบบสอบถาม เพื่อที่จะทราบถึงความแต่กต่างๆ ระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้โดยตรงในขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็สามารถปรึกษากับผู้สอนได้เป็นการส่วนตัว ผู้สอนก็สามารถที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและแก้ปัญหได้อย่างรวดเร็ว
            2.2       การเรียนจากเว็ปไซต์
            การเรียนลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานมากกว่าการเรียนแบบบรรยาย เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้เหมาะสมตามประเด็นเนื้อหา ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดจากการจดคำบรรยายขณะที่เรียน อีกทั้งในเว็ปไซต์สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ความรู้ใหม่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายอีกทั้งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้แบบทันทีทันใด เช่น การทำแบบทดสอบผ่านเว็ปไซต์
            2.3       การสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็ปไซต์
            เป็นวิธีที่เรารู้จักกันมากที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความรู้อย่างมากมายอยู่ในเว็ปไซต์ต่างๆ แต่การที่จะได้ความรู้เพียงใดและมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเว็ปไซต์ที่เราเข้าไปศึกษาหาความรู้ว่ามีวิธีการนำเสนอเนื้อหาความรู้อย่างไรและตรงกับความต้องการของเราเพียงใด
            2.4       แลกเปลียนความรู้ทางเว็ปบอร์ด
            เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแลกเปลียนความรู้กับบุคคลต่างๆ โดยเสนอความคิดเห็นของเราให้ผู้อื่นรู้และรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น
2.5       พูดคุยกับบุคลลทั่วโลกผ่านทาง Internet
โดยใช้หลายๆ วิธีการ เช่น Internet Phone,ICQ,msn messenger,yahoo messenger หรืออีกมากมาย ซึ่งสามารถติดต่อกับบุคคลทั่วไปได้ทั้งพิมพ์โต้ตอบ พูดคุยหรือพูดคุยและเห็นหน้ากันด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นช่องทางที่สามารถจะใช้ Internet เป็นช่องทางในการแสวงหาความรู้ซึ่งนับวันจะมีการพัฒนามากขึ้น ผู้สร้างความรู้และวิธีการใช้ Internet เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้ที่ใช้ Internet เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้


           

3.       มัลติมีเดีย
            มัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะการผสมของสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอโดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
            มัลติมีเดียจึงต้องการช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างสูงรองรับการทำงานแบบสองทิศทางโดยเน้นการย่อระยะทางจากที่ไกลๆ ให้เหมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
4.       อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค (E-Book)
            หมายถึงหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้  สำหรับหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงออกมาได้โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอสอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวันตี่จะมีลักษณะพิเศษคือ ความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านก็สามารถอ่านพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนให้ห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป
            ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุ๊คมาใช้ทางการศึกษา มักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือหรือตำราหรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตัวเอง ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์และเมื้อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่
          5.       ระบบการเรียนการสอนทางไกล
          ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) หมายถึงการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนและผู้สอนอยู่คนละสถานที่ โดยมีการใช้สื่อทางโทรคมนาคมเป็นตัวประสานการติดต่อระหว่างผู้สอน ผู้สอนกับนักเรียน การนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทางไกลนี้ จะอยู่ในรูปแบบของการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหว และสัญญาณเสียงของผู้สอนจะถูกส่งจากสถานที่สอนซึ่งก็คือ ศูนย์ฝึกอบรมหลัก (Training Center)ผ่านสื่อโทรคมนาคม  เช่น ดาวเทียมคู่สายวงจรเช่า หรือ ISDN
ไปให้ผู้เรียนในห้องเรียนทางไกล (Remote Sites)หลายๆ แห่งได้รับชมรับฟัง ขณะเดียวกันผู้เรียนที่ห้องอบรมทางไกลก็จะสามารถพูดโต้ตอบกลับมายังผู้สอนที่ศูนย์ฝึกอบรมหลัก รวมทังสามารถตอบข้อทดสอบในสาขาวิชาการนั้นๆ ได้ทันทีซึ่งลักษณะเช่นนี้ทำให้มีความรู้สึกเหมื่อนเป็นการเรียนการสอนอยู่ในสถ่นที่เดียวกัน
            6.       วีดีโอคอนเปอร์เรนซ์ (Video Conference)
                ระบบวีดีโอคอนเปอร์เรนซ์ เป็นการสอนผ่านจอโทรทัศน์คล้ายคลึงกับการสอนทางไกลผ่านสื่อโทรทัศน์โดยทั่วไป แต่มีข้อแตกต่างที่ระบบวีดีโอคอนเปอร์เรนซ์แบบสองทาง ผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยสื่อเดียวกันตลอดเวลา และมักใช้กับการเรียนการสอนแบบเป็นกลุ่ม นอกจากมีการปฏิสัมพันธ์แล้วคุณภาพของการเรียนการสอนจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพ การสอนของผู้สอน ตัวผู้สอนเน้นการบรรยายด้วยปากเป็นหลักสิ่งที่ผู้เรียนได้รับจึงมีความเป็นนามธรรมสูง ผลที่เกิดขึ้นจึงขึ้งอยู่กับเทคนิคของผู้สอน
            7.       ระบบวีดีทัศน์ตามคำขอ(Video on Demand)
            วีดีทัศน์ตามคำขอเป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ และเลือกชมได้ตลอดเวลา
            วีดีทัศน์ตามคำขอเป็นระบบที่มีศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลวีดีทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่(Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวีดีทัศน์ตามคำขอจึงเป็นระบบที่จะนำมาใชในเรื่องการเรียน การสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้


6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

6.     เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงอะไร
            สุชาดา กีระนันทิ์  (2544:23)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามารวมกันในกระบวนการจัดเก็บสร้างและสื่อสารสนเทศ
            วาสนา สุขกระสานติ (2544:6-1)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง กระบวนการต่างๆ ระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ
            ลูคัส (Lucas)(2548:1)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวลผลจัดเก็บและส่งผ่านสารสนเทศต่างๆ
            ชุนเทียน  ทินกฤต (2548:2)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสร้าง การจัดการ ประมวลผลข้อมูลให้เป็นข้อสนเทศ การจัดเก็บ บันทึกข้อมูลเป็นฐานข้อมูลและส่งผ่านสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตลอดเทคโนโลยีทั้งหลายที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงสารสนเทศระบบดิจิตอล
            หนังสือเทคโนโลยีสาสนเทศและการสือสารเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (2549:93)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง อุปกรณ์เครื่องมือที่นำมาจัดการสารสนเทศได้แก่ การจัดเก็บ การประมวลผล การสืบค้นและการรับ-ส่งสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (2552:218)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนอาศัยควมารู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การสังเคราะห์ การจัดเก็บ รวบรวมถึงการเผยแพร่และแลกเปลียนสารสนเทศด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำและความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั้นเอง
            หนังสือการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (2548:137)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสวงหาและรวบรวมข่าวสาร เพื่อการประมวลวิเคราะห์ เพื่อการจัดเก็บสะสม เพื่อการส่งแพร่กระจายและเพื่อการนำสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
        หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (2547:4)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามาร่วมกันในกระบวนการจัดเก็บ สร้าง และสื่อสารสนเทศดังนั้นจึงครอบคลุมเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใชในกระบวนการข้างต้น
            สุเมธ วงศ์พานิชเลิศและนิตย์ จันทร์มังคละศรี (2547:5)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดการ วิเคราะห์ ประมวล การจัดการและการจัดเก็บเรียนใช้หรือแลกเปลียนและเผยแพร่สารสนเทศด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
            ครรชิต มาลัยวงศ์ (2547:24)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานด้านการจัดเก็บบันทึกและประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วและถูกต้อง ส่วนเทคโนโลยีสื่อาสรคมนาคมจะช่วยส่งผลลัพธ์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใชที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก
            หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (2547:6)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดการ จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำและความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโดยชน์

สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงอะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีทุกชนิดที่ใช้ในการเสาะแสวงหา วิเคราะห์สร้าง จัดเก็บ การประมวลผลข้อมูลรวมถึงการจัดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ดังนั้นจึงครอบคลุมเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการส่งสารสนเทศต่างๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์           

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

5.     เทคโนโลยี  หมายถึงอะไร
            เอดการ์  เดล (Dale,Edgar)(2545:13)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง เทคโนโลยีไม่ใช้เครืองมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่มีผลบรรลุตามแผนการที่วางไว้
            กาเพรียล  โดฟิลธ์ (Gabrial Dofilsh)(2545:13)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ให้มีระบบเพื่อให้ปฏบัติในการแก้ปัญหา
            สมาน  ชาติยานนท์ (กรมวิชาการ,2544:173)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง การนำความรู้และระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
        สวัสดิ์  ปุษปาคม (2544:1)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์มาใช้ในงานสาขาต่างๆ ทำให้มีการเปลียนแปลงในระบบงานในทางที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลงทุนน้อย แต่ได้ผลมากและมีประสิทธิภาพสูง
            ก่อ สวัสดิพาณิชย์(กรมวิชาการ,2544:83)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์ ประยุกต์มาใช้ในงานสาขาต่างๆหรือนำมาใช้ในงานสาขาต่างๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้เกิดการเปลียนแปลงในระบบต่างๆด้วย
        หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (2543:1)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม


            หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (2552:218)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง การนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเทคโนโลยีที่นำใช้จัดการสารสนเทศต่างๆเหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีทางการสื่อสารและโทรคมนาคม
            หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย(2544:1)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง การนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวินัย กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลียนแปลงในการทำงานให้ดีขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย
                หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (2547:4)
ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี  หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง     การใช้สิ่งของกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงาน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ไม่มีธรรมชาติ











สรุปได้ว่าเทคโนโลยี  หมายถึงอะไร
      การนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในกระบวนการต่างๆทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบงานที่ดีขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพของงานนั้นให้มากยิ่งขึ้น



4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

4.      นวัตกรรมทางการศึกษา  คืออะไร
            หนังสือนวัตกรรมการศึกษา  (2543:5)
ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมทางการศึกษา  หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมตั้งแต่ประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลียนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย(2544:201)
ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมทางการศึกษา  หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ๆ หรือสิ่งใดก็ตามที่พัฒนาให้ดีขึ้นกว่าของเดิมที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้ในงานแล้วสามารถช่วยให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้ประสิทธิผลสูงขึ้นกว่าเดิมทั้งประหยัดเวลาและแรงงาน
             หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย(2544:202)
ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมทางการศึกษา  หมายถึง การนำนวัตกรรมที่เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือการปฏิบัติใหม่ๆ หรือพัฒนาจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้นมาใช้ในวงการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและปรพสิทธิผลสูงสุดแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้








สรุปได้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา  คืออะไร
            นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาพัฒนาให้ดีสูงขึ้นกว่าเดิม เข้ามาใช้ในการศึกษาเพื่อให้เกิอการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมมีประสิทธิภาพและประสิทธผลสูงขึ้น